โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน พ.ศ. 2567 [08 ก.พ. 67]
โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน
มาทำถังขยะเปียก เพื่อโลก
เพื่อเรากันเถอะ เมื่อพูดถึงประเภทของขยะ "ขยะเปียก"
นับเป็นหนึ่งในขยะที่สร้างความรำคาญใจให้กับพ่อบ้านแม่บ้านมากที่สุด
เพราะหากจัดการไม่ดี อาจก่อให้เกิดเชื้อโรค และส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ตามมาได้
วันนี้บ้านไหนที่อยากจัดการกับขยะเปียกเจ้าปัญหาให้สิ้นซาก เรามีวิธีง่ายๆ
มาฝากกัน
การจัดการขยะนั้นต้องเริ่มแยกขยะตัวร้ายอย่างขยะเปียกออกจากขยะทั้งหมดก่อน
ซึ่งขยะประเภทนี้ หากหมักหมมไว้นานโดยไม่ได้จัดการอย่างถูกวิธี นอกจากจะเน่าเสีย
ส่งกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์ และเป็นแหล่งเชื้อโรคแล้ว ยังทำให้ขยะชนิดอื่นๆ
ที่อยู่ร่วมกันสกปรก
และไม่สามารถเข้าสู่การบวนการรีไซเคิลได้สำหรับการจัดการกับขยะเปียกนั้น
กูรูท่านนี้ บอกว่า มีอยู่ 2 วิธี คือ เศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า
เช่น กระดูกไก่ ก้างปลา น้ำแกง สับบดเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นอาหารสัตว์ได้
ส่วนเศษอาหารที่บูดเน่าแล้วเหลือพืชผัก ไม่ว่าจะเป็นเปลือกผลไม้ เศษผัก
หรือเศษใบไม้ สับ บด และป่นเป็นชิ้นเล็กๆ
นำมาเป็นจุลินทรีย์หมักทำปุ๋ยได้อย่างไรก็ดี ในขั้นตอนการจัดการขยะให้เหลือศูนย์
หรือทำปุ๋ยนั้น การหมักเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยกำจัดขยะเปียกแล้ว
ยังได้น้ำปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือนอีกด้วย
แต่ก่อนอื่นทุกบ้านต้องมีถังหมักประจำบ้านเสียก่อน ซึ่งมีวิธีการทำง่ายๆ
ดังนี้
1. ถังทำจาก
ถังสีเก่าเหลือใช้ขนาด 20 ลิตร
2. เจาะรูตัวถังด้านล่างใส่ก๊อกน้ำพลาสติก
เพื่อใช้เปิดปิดน้ำหมัก
3. ฝาด้านบนเจาะรู
สำหรับให้ออกซิเจนถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
4. ใช้ตะกร้าพลาสติกวางลงไป
ให้ช่องว่างระหว่างก้นตะกร้ากับพื้นถังห่างกันประมาณ 5
ซม. เพื่อให้น้ำแกงตกอยู่ด้านล่าง สำหรับเป็นปุ๋ยน้ำ แยกออกจากด้านบน
เป็นกากย่อยสลายเคล็ดวิธีกำจัด ขยะเปียก
ในบ้านให้สิ้นซากขอบคุณภาพประกอบข่าวจากส่วนวิธีการจัดการเศษอาหารด้วยถังหมักประจำบ้านนั้น
มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ เศษอาหาร 40 เปอร์เซ็นต์ เศษใบไม้ 30
เปอร์เซ็นต์ เศษผัก เศษเปลือกผลไม้ 30 เปอร์เซ็นต์ และจุลินทรีย์ EM
200 ซีซี.ผสมน้ำ 2 ลิตร
ขั้นตอนการทำ
1. นำส่วนผสมต่างๆ
มาผสมเข้าด้วยกัน (เศษอาหาร ใบไม้ เศษผัก เศษผลไม้สับ หรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ
และจุลินทรีย์ EM ผสมให้เข้ากัน (ใส่ลงในถังหมัก) พลิกทุกๆ 2
วัน
2. ใช้ฝาถังที่มีช่องระบายอากาศ
เพื่อให้ออกซิเจนถ่ายเทได้สะดวก เพื่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย
เปิดวาล์วรวบรวมน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
3. ระยะการบ่มหมัก
3 สัปดาห์ (21
วัน) สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก
4. ควรเก็บไว้ในที่ร่ม
เนื่องจากคุณสมบัติจุลินทรีย์ EM จะเติบโต และทำงานได้ดีในที่ร่ม
เพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ส่งกลิ่นเหม็น
และทำการย่อยสลายขยะในอุณหภูมิที่ออกซิเจนถ่ายเทได้ดี ถ้านำออกไปตากแดด
เกิดความร้อน จุลินทรีย์จะตาย ทำให้ขยะที่ต้องการหมักเน่าเสีย
ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
ทีนี้ "ขยะเปียก" เจ้าปัญหาก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
แถมยังได้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมาใช้ในครัวเรือนได้อีกด้วย
ไม่ว่าจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยเพิ่มการเจริญเติบโตของต้นไม้ ดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
เป็นต้น อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่ขยะเปียกเท่านั้นที่จะต้องจัดการอย่างถูกวิธี ขยะอื่นๆ
ต้องคัดแยกให้ตรงตามประเภทด้วย เพื่อความสะดวกในการดำเนินการขั้นต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นการขายต่อให้ร้านค้าที่รับซื้อ
หรือส่งให้หน่วยงานที่จะดำเนินการบำบัดก็ตาม ที่สำคัญ การคัดแยกขยะต้องย่อส่วน
และจัดระเบียบขยะไม่ให้เกะกะ หรือกินพื้นที่ ด้วยการมัดให้เป็นระเบียบ ทุบให้แบน
ตัดให้สั้น หรือบรรจุเป็นหีบห่อ เพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และการขนย้าย
ด้วยความปรารถนาดีจาก สำนักปลัด งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย
|