✥ ประวัติตำบลทุ่งฝาย ✥
ตำบลทุ่งฝาย เรียกชื่อตาม
หมู่บ้านที่เดิมเป็นศูนย์กลางของตำบลคือ “บ้านทุ่งฝาย” ซึ่งเดิมชื่อ “บ้านไฮ่” (บ้านไร่)
เนื่องจากสมัยนั้นบ้านเมืองยังไม่เจริญเป็นป่าเป็นดง ได้มีราษฎรจากหมู่บ้านต่างๆ พากันมาทำไร่ ปลูกข้าวและพืชผักต่างๆ เลี้ยงชีพ
เป็นทำเลที่ดีจึงมีราษฎรอพยพมาอยู่กันอย่างมากขึ้นราวๆ พ.ศ. 2400
ได้มีบุคคลผู้มีอันจะกินระดับผู้นำหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมราษฎรชาวบ้านไร่และหมู่บ้านใกล้เคียงได้ช่วยกันสร้างฝายกั้นน้ำแม่วังขึ้นที่ท้ายทุ่งฝาย
พร้อมกับขุดลำเหมืองชัดน้ำเข้าสู่ที่นา
ผู้เป็นหัวหน้าชื่อใดไม่ปรากฏ ต่อมาภายหลังคนเลยตั้งชื่อฝายนั้นว่า “ฝายปู่ล้านเป๊าะ เพราะการสร้างฝายนั้นกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ต้องหมดหิน
ดิน ทราย เป็นจำนวนมากถึงล้านเป๊าะ (เป๊าะคือกระบุงหรือบุ้งกี๋ใช้เป็นภาชนะขนหิน
ดิน ทราย)
แนวลำเหมืองเดิมยังปรากฏได้เห็นอยู่เป็นบางแห่งตั้งแต่บ้านต้นยางถึงบ้านนาป้อ บางแห่งก็ถูกทำลายสร้างเป็นบ้านเรือนอยู่อาศัยไปแล้ว
ต่อมาหมู่บ้านไร่ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นหมู่บ้านหัวฝาย เพราะว่าหมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศเหนือของฝายเมื่อจำนวนประชากรมากขึ้น
ราษฎรอยู่ดีกินดี มีทุ่งนาขยายมาก มีการพัฒนาที่ดินทำกินมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “บ้านทุ่งฝาย” ตราบจนทุกวันนี้
ในสมัยต่อมา ราชการได้เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ เมื่อปี
พ.ศ. 2475
คือเอาเขตแม่น้ำวังเป็นแนวแบ่งเขตตำบล รวมเอาตำบลเวียงเหนือบางส่วน
คือบ้านวังหม้อ ตำบลห้วยฮี ตั้งแต่
บ้านต้นธง บ้านนาป้อ บ้านท่าโทก จนถึงบ้านห้วยฮี เข้าเป็นตำบลทุ่งฝาย
โดยตั้งชื่อบ้านทุ่งฝายเป็นชื่อตำบล
ปี 2523
ราษฎรตำบลทุ่งฝายมีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีนิคมสร้างตนเองกิ่วลมเข้ามาอยู่ในเขตของตำบล ทำให้พื้นที่การปกครองกว้างขวางมาก ทางราชการได้แบ่งแยกออกเป็น “ตำบลต้นธงชัย”
ตัดแบ่งเขตกันที่สะพานห้วยแม่ทรายคำ
พ.ศ.
2535
ตำบลทุ่งฝายหลังการแยกออกเป็นตำบลต้นธงชัยแล้วยังมีหมู่บ้านถึง 14
หมู่บ้านจึงได้รับการพิจารณาแบ่งแยกตำบลอีกครั้งหนึ่งคือ ตำบล “นิคมพัฒนา” ตัดแบ่งกันที่สะพานห้วยทราย บ้านหมู่ที่ 3 แต่เดิมบ้านทุ่งฝาย มีหมู่บ้านรวมกัน 3
บ้านคือ บ้านแม่ทะ บ้านต้นยางและบ้านทุ่งฝายหมู่ที่ 2 ของตำบลทุ่งฝาย องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย
ได้รับการยกฐานะตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 เมื่อวันที่ 19
กรกฎาคม 2539 ซึ่งได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในมาตรา
40 ว่า “สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี
เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท
หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยของสภาตำบลที่ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลให้ทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งจะต้องระบุชื่อและเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในประกาศว่าด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น”
|